Skip to main content

วิธีเลี้ยงเด็กทารกแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่

First 10 Days

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่รู้ไหม การเลี้ยงเด็กแรกเกิดในช่วง 4 สัปดาห์แรกนั้น สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิดคือการกิน และนอนให้เต็มอิ่ม และคอยเฝ้าระวังไม่ให้ทารากเกิดโรคต่างๆ รวมถึงภูมิคุ้มกันที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคยังไม่ค่อยจะดีนัก เด็กทารกแรกที่เกิดยังไม่แข็งแรงอาจทำให้เกิดดการเจ็บป่วยได้ง่าย จึงควรได้รับการดูแลที่ใส่ใจเป็นพิเศษ

ดูแลเด็กทารกแรกเกิดอย่างใกล้ชิด

อาหารสำหรับทารกแรกเกิด

จากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะให้เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน ควรกินนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องทานน้ำหรืออาหารเสริมอื่น ๆ อีก เพราะ “นมแม่” ถือเป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารกแรกเกิด เพราะมีทั้งโปรตีนที่สูง มีองค์ประกอบด้านโภชนาการครบถ้วน รวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอีกด้วย เหมาะสมต่อการเจิญเติบโตของทารก ทั้งยังลดโอกาสเกิดโรค การติดเชื้อ ลดความเสี่ยงต่าง ๆ อีกด้วย และในขณะที่ลูกดูดนมแม่ ลูกยังได้สัมผัสความรักความอบอุ่นในอ้อมแขนของแม่ ถือเป็นการสร้างสายใยรักความผูกพันที่ดีที่สุดระหว่างแม่กับลูกด้วย

การให้ภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเด็กทารกแรกเกิด

หลังคลอด เด็กแรกเกิดจะได้รับวัคซีน 2 ชนิด คือ วัคซีนบีซีจี (BCG) หรือวัคซีนป้องกันวัณโรค และ วัคซีนตับอักเสบบี (HBV Vaccine) แนะนำให้ฉีดเข็มที่ 2 ตอนอายุ 1 เดือน หลังจากนั้นคุณหมอจะนัดหมายให้เข้ารับ 'วัคซีนพื้นฐานตามช่วงอายุของเด็ก' โดยในบางครั้งคุณหมอจะแนะนำให้ลูกน้อยรับ 'วัคซีนเสริม' ตามความต้องการของร่างกายของเด็ก ๆ แต่ละคนอีกด้วย

ปัญหาที่พบบ่อยในการดูแลเด็กทารกแรกเกิด

1. การแหวะนม หรืออาเจียน

มักพบได้บ่อยในเด็กทารกแรกเกิด เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของเด็กแรกเกิดที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้นมไหลย้อนขึ้นมา ต้องระวังการสำลักให้ดี แก้ไขด้วยการให้ทารกกินนมในท่าที่หัวสูง หลังกินนมแล้ว ให้จับนั่งหรืออุ้มพาดบ่าให้เรอ และควรให้นมทีละน้อยๆ หากยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ หากปล่อยไว้อาจเกิดการแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจได้

2. ตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด จะเริ่มจากบริเวณใบหน้า แล้วกระจายไปยังส่วนอก ท้อง แขนและขา เกิดจากร่างกายมีสารสีเหลืองบิลิรูบิน (Bilirubin) ในกระแสเลือดมาก โดยปกติแล้วบิลิรูบินจะถูกสร้างขึ้นในกระแสเลือด และถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยตับและขับออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะ โดยทั่วไปทารกจะมีอาการตัวเหลืองในวันที่ 2 – 3 หลังคลอด และส่วนใหญ่จะหายได้เองไม่เกิน 3 สัปดาห์

3. อาการไข้ ตัวร้อน

หากวัดไข้แล้วอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีไข้ เบื้องต้นให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้ หากมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมดูดนม ต้องรีบพบแพทย์

4. ผื่นชนิดต่างๆ

  • ผดร้อน มีลักษณะเป็นตุ่มใสเล็ก ๆ บริเวณหน้าผาก คอ, หลัง และข้อพับ เกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผื่นผดร้อนจะหายไปได้เอง
  • ผื่นผ้าอ้อม มีลักษณะเป็นผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ ต้นขา, ก้น และท้องน้อย เกิดจากความเปียกชื้นและระคายเคืองภายในผ้าอ้อม (ปัสสาวะและอุจจาระ) พยายามเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น และการหมักหมมของเสียจากทารก
  • ผื่นผิวหนังอักเสบของต่อมไขมัน มีลักษณะเป็นผื่นตุ่มแดงและมีสะเก็ดเหลืองที่หนังศีรษะ, คิ้ว หู และใบหน้า สามารถหายได้เองในช่วงอายุ 2-3 เดือน หรืออาจใช้น้ำมันมะกอกช่วยทาเพื่อให้ลอกออกง่ายขึ้น

5. สะอึก

มักพบได้หลังดูดนม ควรลดปริมาณนมในแต่ละมื้อ และสามารถลดภาวะสะอึกได้โดยอุ้มเรอในท่าปกติ

ช่วงเวลาดูแลผิวกายของเด็กแรกเกิด

การอาบน้ำทารกแรกเกิด

Elle Walker อธิบายว่าไม่มีอันตรายใด ๆ ในการอาบน้ำให้ทารกน้อยของคุณทุกวัน

กุมารแพทย์บางคนแนะนำให้ทำความสะอาดตัวเด็กทารกแรกเกิดด้วยการลูบน้ำจนกว่าสายสะดือจะหายสนิทและหลุดออก (โดยปกติแล้วภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์) เรียนรู้วิธี ใช้น้ำลูบทำความสะอาดตัวทารก และตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณมี อุปกรณ์อาบน้ำที่จำเป็น พร้อมก่อนทารกกลับบ้าน เพื่อไม่พลาดโอกาสดูแลทารกน้อยของคุณ

วิธีเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทารกแรกเกิด

ผลิตภัณฑ์สำหรับทารกในอุดมคติไม่ควรระคายเคืองต่อผิวหรือดวงตาของทารก, ไม่ทำให้ผิวของเด็กทารกแห้ง หรือทำลายค่า pH ตามธรรมชาติของผิว ที่สำคัญที่สุด ควรได้รับการรักษาคุณสมบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ระหว่างการใช้งานตามปกติ เรียนรู้เกี่ยวกับคำสัญญาของเราต่อคุณและลูกน้อย

การเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กทารก

พ่อแม่มือใหม่ส่วนใหญ่จะประหลาดใจกับจำนวนผ้าอ้อมที่ถูกใช้ไปในแต่ละวัน เพื่อทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น เตรียมผ้าอ้อมสำหรับเด็กแรกเกิดจำนวนมากไว้ให้พร้อมใช้งานก่อนพาทารกกลับบ้าน การเรียนรู้ วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารก ไว้ล่วงหน้า (หรือแม้แต่ฝึกเปลี่ยนผ้าอ้อม) ก็มีประโยชน์มากเช่นกัน

การนวดเด็กทารก

การนวดผ่อนคลายสำหรับเด็กทารกแรกเกิดนั้นช่วยสร้างความผ่อนคลาย ช่วยบำบัดสุขภาพให้ทารก ทั้งยังสามารถช่วยลดอาการไม่สบายตัวต่างๆ ของทารกได้ เช่น อาการจุกเสียด แน่นท้อง ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ รวมถึงสามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสและพัฒนาการ ในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยอีกด้วย

การเชื่อมสายใยความผูกพันและการปลอบโยน

การสัมผัสเป็นภาษาแรกของทารกและเด็กแรกเกิดเป็นวิธีเชื่อมสายใยความผูกพันระหว่างแม่กับลูกน้อยที่ยอดเยี่ยม

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการนวดสามารถช่วยให้ทารกผ่อนคลาย, มีรูปแบบการนอนหลับที่ดีขึ้น และทำให้เด็กทารกที่หงุดหงิดสงบลง การนวดตัวให้ทารกเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเชื่อมสายใยความผูกพันกับลูกน้อย และ เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย

การอุ้มเด็กทารกแรกเกิด

เด็กทารกแรกเกิดของคุณอาจดูบอบบางและอ่อนแอ แต่อย่ากลัวที่จะสัมผัส, ให้การดูแล หรืออุ้มทารกน้อยคนใหม่ของคุณ! ในความเป็นจริง การศึกษาต่างๆ แสดงว่า เด็กทารกที่ได้รับการอุ้มมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันจะมีพัฒนาการดีกว่าและร้องไห้น้อยลง

เนื่องจากกล้ามเนื้อคอของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ คุณจึงต้องคอยประคองศีรษะของลูกเมื่ออุ้ม คุณควรประคองศีรษะทารกกับไหล่ของคุณหรือด้วยมืออีกข้างระหว่างที่อุ้ม

การปลอบเด็กทารก

เด็กแรกเกิดหรือทารกส่วนใหญ่จะร้องไห้โดยเฉลี่ยสองชั่วโมงต่อวันในช่วง 3 เดือนแรก ดังนั้นแม้อาจจะชวนให้รู้สึกไม่สบายใจ แต่นี่เป็นเรื่องปกติ

เพื่อปลอบโยนเด็กแรกเกิด ก่อนอื่นลองค้นหาสาเหตุของความไม่สบายตัวของทารก ทารกหิวหรือไม่? ลูกน้อยของคุณมีลมในท้องหรือไม่? ทารกต้องการการเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือไม่? ได้เวลางีบแล้วหรือยัง? ทารกของคุณถูกกระตุ้นด้วยเสียง, แสง หรือกิจกรรมต่างๆ มากเกินไปหรือไม่?

เพื่อปลอบโยนทารกที่ง่วงหรือถูกกระตุ้นมากเกินไป อุ้มทารกพาดบ่าพลางโยกตัวเด็กเบาๆ ร้องเพลงหรือพูดคุยเบาๆ กับทารก ทำให้ทารกอุ่นใจด้วยน้ำเสียงที่สงบ การลูบหลังทารกไปพลางก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ทดลองอุ้มในท่าทางต่างๆ เพื่อค้นหาตำแหน่งที่สบายสำหรับคุณทั้งคู่

ลองพิจารณาสิ่งอื่นๆ เหล่านี้: ทารกขยับเคลื่อนไหวไม่ได้มากนักในช่วงสองสามสัปดาห์แรก และเด็กแรกเกิดอาจร้องไห้ขอความช่วยเหลือหากนอนไม่สบายในคอกเด็ก คุณสามารถช่วยให้ทารกรู้สึกสบายได้โดยเปลี่ยนท่าทางของทารกอย่างเบามือ แต่เพื่อความปลอดภัย จัดท่าให้ทารกนอนหงายเสมอระหว่างนอนหลับ

การนอนหลับ

รูปแบบการนอนของทารกจะเปลี่ยนไปพร้อมกับการเจริญเติบโต เด็กทารกแรกเกิดจะนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ ตลอด 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน และตื่นขึ้นบ่อยครั้งตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน กระนั้น คุณก็ยังสามารถปลูกฝังกิจวัตรการนอนให้กับทารกได้ แม้แต่ในช่วงเริ่มแรก ระหว่างสัปดาห์ที่ 6 ถึง 8

และเมื่อทารกมีพัฒนาการและเริ่มรวมการนอนเข้ากับการนอนหลับในช่วงกลางคืน พร้อมกับ “งีบ” น้อยลงในช่วงกลางวัน คุณก็สามารถช่วยให้ลูกค่อยๆ พัฒนารูปแบบการนอนหลับ โดยเรียนรู้ว่าช่วงเวลากลางคืนเป็นเวลานอน ไม่ใช่เวลาเล่น

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการช่วยให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับสนิทยิ่งขึ้นด้วย กิจวัตร 3 ขั้นตอนของ JOHNSON’S®

ในการเลี้ยงลูก หรือเด็กทารกแรกเกิดที่คลอดใหม่นั้นมักจะดูแลยากกว่าเด็กโต เนื่องจากเด็กแรกเกิดยังพูดไม่ได้ แต่จะแสดงออกผ่านพฤติกรรมแทนอย่าง การร้องไห้เป็นหลัก คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรใส่ใจดูแลลูกเป็นพิเศษตั้งแต่การตื่นนอน การกิน รวมไปถึงเวลาเข้านอนด้วยเช่นกัน เรียกว่าอย่าให้คาดสายตา้ลยก็ว่าได้ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะก็จะเริ่มชิน และเริ่มเข้าใจพฤติกรรมของลูกน้อยที่สื่อออกมามากขึ้น

เตรียมตัวต้อนรับลูกน้อย

วิธีเตรียมบ้านให้พร้อมสำหรับทารกน้อยคนใหม่

Logo Baby Center

วันแรกในบ้านพร้อมกับทารกคนใหม่อาจทั้งน่าตื่นเต้นและชวนให้ทำอะไรไม่ถูกในเวลาเดียวกัน BabyCenter® ขอเสนอการวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อช่วยให้คุณเตรียมพร้อม

คุณแม่ทั่วโลกไว้วางใจ JOHNSON’S® ให้ดูแลลูกน้อย

เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับคุณแม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะยังคงบรรลุมาตรฐานสูงสุดในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และความใส่ใจ