Skip to main content

วิธีดูแลผื่นผ้าอ้อม พร้อมวิธีป้องกันผื่นสำหรับทารก

Diaper Rash Guide

ปัญหาผื่นผ้าอ้อมทารกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกกว่า 50% ร้องไห้โยเยจากการรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลใจอยู่ไม่น้อยที่ต้องเห็นลูกน้อยเป็นผด ผื่นแดง คัน ผิวลอกและไม่สบายตัว แต่ปัญหาผื่นผ้าอ้อมนี้ ก็มีวิธีดูแลรักษาที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำตามได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย

ผื่นผ้าอ้อมคืออะไร สาเหตุและลักษณะเป็นอย่างไร ?

‘ผื่นผ้าอ้อม’ (Diaper dermatitis) ไม่ใช่ผื่นที่เกิดขึ้นจากตัวผ้าอ้อมโดยตรง แต่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบในเด็ก ที่เกิดขึ้นบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อม ซึ่งพบมากในทารกอายุ 9-12 เดือน โดยสาเหตุของการระคายเคืองที่ทำให้เกิดผดผื่นนั้นเกิดจากการแพ้สารสัมผัสที่อับชื้นเป็นเวลานาน เนื่องมาจากการปล่อยให้ทารกสวมใส่ผ้าอ้อมสัมผัสที่มีปัสสาวะ หรืออุจจาระทิ้งค้างไว้นานๆ ทำให้ผิวหนังภายใต้ผ้าอ้อมอับชื้นและเปื่อยง่าย ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นเชื้อราได้ บวกกับการเสียดสีกับผ้าอ้อมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ผิวของทารกระคายเคือง เป็นผด ผื่นร้อน แดง และมีอาการแสบคันให้เห็นได้นั่นเอง

4 สาเหตุของผื่นผ้าอ้อม

สาเหตุของผื่นผ้าอ้อมทารกนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ “ความเปียกชื้น” ซึ่งมาจากการใส่ผ้าอ้อมที่เปียก และอับชื้นเป็นเวลานานเกินไป

1. แบคทีเรีย

ความอับชื้นของผ้าอ้อมสามารถเป็นแหล่งรวมของแบคทีเรียและเชื้อราได้ มีผลทำใ้ห้ผิวหนังอักเสบในช่วงที่เริ่มเป็นผื่นผ้าอ้อมได้

2. ปัสสาวะ และอุจจาระ

การที่ผิวหนังบอบบางแพ้ง่ายของทารกสัมผัสกับของเสีย อย่างปัสสาวะ และอุจจาระเป็นเวลานาน ๆ มักทำให้เกิดผื่นคันตาามาได้ เนื่องจากทั้งปัสสาวะ และอุจจาระนั้นมีสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวอย่าง พวกเอนไซม์ และแบคทีเรียจากลำไส้ จึงควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งที่ทารกปัสสาวะหรืออุจจาระ

3. การเสียดสี

เพราะทารกมีผิวที่บอบบางแพ้ง่าย เพียงใส่ผ้าอ้อมแน่นเกินไปก็สามารถทำให้เกิดการระคายเคือง และเกิดเป็นรอยแดง หรือผื่นคันตามมาได้แล้ว จากการเสียดสีระหว่างผิวหนังและผ้าอ้อม

4. ภาวะอับชื้น

ภายใต้ผ้าอ้อมนั้นมีความอับชื้นอยู่แล้ว หากมีการเคลื่อนไหวเยอะจนก่อให้เกิดเหงื่อ หรือมีการปัสสาวะและอุจจาระร่วมด้วย ความอับชื้นก็จะยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้น จึงทำให้ผิวระคายเคืองได้ง่าย รวมถึงเกิดผื่นแพ้ คัน ได้ในที่สุด

4 ลักษณะของผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อมทารกมักจะเกิดบริเวณผิวหนังที่ผ้าอ้อมปิดอยู่ มีลักษณะสีแดง คล้ายผด ผื่นร้อน

1. การระคายเคือง

มีอาการแดง ร่วมกับเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณที่ระคายเคือง อาจมีมีอาการคันร่วมด้วย

2. แผลถลอก

เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าอ้อมและผิวหนังของทารก ทำให้เกิดรอยถลอกบริเวณที่ถูกเสียดสี อย่าง บริเวณก้น

3. ผื่น

มีลักษณะเป็นสีแดง เป็นปื้น ขยายเป็ยบริเวณกว้าง มักมีอาการคันร่วมด้วย

4. จ้ำแดง

มีลักษณะเป็นจ้ำสีแดงหลายจุด สามารถสังเกตเห็นได้ชัด

4 วิธีดูแลเมื่อลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อม

1. ทำความสะอาด

หมั่นดูแลความสะอาดผิวบริเวณใต้ผ้าอ้อมของลูกน้อย หรือทุกครั้งที่ทารกปัสสาวะ หรืออุจาระ โดยใช้ทิชชูเปียกนุ่มๆ, สำลีสะอาด หรือผ้าเช็ดตัวชุบดน้ำอุ่นบิดหมาด เช็ดทำความสะอาดผิวทารกอย่างเบามือ

2. เช็ดให้แห้ง

หลังเช็ดทำความสะอาด ต้องดูแลให้ผิวของทารกแห้งเท่าที่จะทำได้ โดยใช้กระดาษทิชชูซับน้ำที่อาจหลงเหลืออยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวใต้ผ้าอ้อมอับชื้นอันเป็นสาเหตุของผื่นผ้าอ้อมทารก

3. ทาครีม

ในระหว่างที่ทารก หรือลูกน้อยของคุณมีผื่นผ้าอ้อมแดง คัน ให้ทาครีมสำหรับดูแลปัญหาผื่นคันบางๆ ให้ทั่วบริเวณผิวใต้ผ้าอ้อม เพื่อรักษาผดผื่นที่เกิดขึ้น รวมถึงบรรเทาอาการคัน ไม่สบายตัวของลูกน้อย

เคล็ดลับการป้องกันผื่นผ้าอ้อม ที่ทำตามได้ไม่ยาก

1. ระวังอย่ารัดผ้าอ้อมแน่นเกินไป

ระวังอย่ารัดผ้าอ้อมแน่นเกินไป เพราะอาจเกิดการเสียดสีจนก่อให้เกิดการระคายเคือง จนทำให้เป็นผดผื่นผ้าอ้อมตามมาได้

2. ถอดผ้าอ้อมให้ทารกให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

การถอดผ้าอ้อมให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะทำให้ผิวของทารกไม่อับชื้น ลดการเสียดสีที่ทำให้เกิดการระคายเคือง รวมถึงลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมทารกได้ ดังนั้น หากลูกน้อยของคุณอยู่ภายในบ้าน ไม่ได้ออกไปไหน วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ดีทีเดียว ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถปกป้องลูกน้อยจากปัญหาผื่นผ้าอ้อมได้

3. ดูแลความชุ่มชื้น และความสบายผิวทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม

ในทุกๆ ครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าอ้อม อย่าลืมทาโลชั่นผิวสำหรับเด็กทารก อย่าง จอห์นสัน คอตตอนทัช เฟซ แอนด์ บอดี้ โลชั่นสูตรบางเบา และอ่อนโยนเป็นพิเศษสำหรับผิวบอบบาง* และมีแนวโน้มแพ้ง่ายของเด็กแรกเกิด** ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นดูมีสุขภาพดี ลดโอกาสผิวมีแนวโน้มระคายเคืองง่าย เพื่อดูแลสมดุลความชุ่มชื้นให้กับผิวของลูกน้อย และทาแป้งสำหรับเด็กบางๆ เพื่อลดการอับชื้นที่อาจก่อให้เกิดแบคทีเรียและลดการเสียดสีระหว่างผ้าอ้อมกับผิวของลูกน้อยได้ด้วย

*เปรียบเทียบกับผิวของผู้ใหญ่
**ผิวที่อาจมีแนวโน้มแพ้ง่ายเนื่องจากผิวแห้ง

4. เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกบ่อยๆ

การเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้งที่ทารกปัสสาวะหรืออุจจาระ จะทำให้ผิวใต้ผ้าอ้อมไม่อับชื้น ลดความเสี่ยงการเป็นผื่นผ้าอ้อมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

5. เลือกขนาดของผ้าอ้อมที่เหมาะสม

ไม่ใช่แค่เรื่องของผ้าอ้อมที่ไม่ควรรัดแน่นจนเกินไปเท่านั้น แต่การเลือกขนาดผ้าอ้อมที่พอดีตัว ไม่รัดแน่น หรือหลวมเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกน้อยสบายตัวแล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาผื่นผ้าอ้อมได้ดี

ผื่นผ้าอ้อม เป็นปัญหาจากการแพ้ระคายเคืองที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกๆ คน ดังนั้น เมื่อรู้สาเหตุสำคัญอย่างความอับชื้น และการเสียดสีซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมแล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนำวิธีการดูแลรักษาและวิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อมเหล่านี้ที่เราได้นำมาฝาก ไปใช้ดูแลผิวของลูกน้อยที่คุณรักกัน แต่ทั้งนี้หากมีผด ผื่นแดง และอาการคันรุนแรงมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลด้านสุขภาพของทารก เพื่อทำการตรวจสอบปัญหาโรคผิวหนังเพิ่มเติม

การเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกน้อย

คำแนะนำของคุณแม่คนใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่จะกลายเป็นกิจวัตรที่คุณคุ้นเคยอย่างยิ่ง

DESITIN® Diaper Rash Treatments provide relief your baby can feel by creating a barrier on contact that establishes the ideal soothing, healing environment.

คุณแม่ทั่วโลกไว้วางใจ JOHNSON’S® ให้ดูแลลูกน้อย

เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับคุณแม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะยังคงบรรลุมาตรฐานสูงสุดในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และความใส่ใจ