Skip to main content

เคล็ดลับวิธี ให้นมลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่

Breastfeeding Guide

เคล็ดลับวิธี ให้นมลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่

คุณแม่มือใหม่หลายๆ คนค้นพบว่าการให้นมลูกด้วยน้ำนมแม่เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ชวนให้มหัศจรรย์ใจที่สุดของการเป็นแม่ เมื่อได้มอบสารอาหารบำรุงร่างกายแก่ลูกน้อยเป็นครั้งแรก ยังเป็นโอกาสที่คุณแม่จะได้มอบความรักให้ลูกผ่านการสัมผัสและสร้างสายสัมพันธ์ของแม่กับลูกอีกด้วย การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่หรือการให้นมลูกก็จึงมีความสำคัญต่อลูกน้อย บทความนี้จะมาแชร์เคล็ดลับดีดีที่ควรรู้ให้กับคุณแม่มือใหม่ ให้พร้อมสำหรักการให้นมลูก

ประโยชน์ของน้ำนมแม่ ต่อลูกน้อย

น้ำนมแม่ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะเป็นสารอาหารอย่างแรกที่ลูกน้อยได้รับ และมีคุณค่าที่สุดมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เพราะนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกครบถ้วน การดูดนมแม่ จะทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ มีภูมิต้านทานในการต่อต้านเชื้อโรค และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ

นมแม่ช่วยอะไรลูกน้อยบ้าง

  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคลำไส้อักเสบ
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคท้องเสีย
  • ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่างๆให้แก่ลูกน้อย

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ

คุณแม่มือใหม่จำนวนมากได้รับการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของตนเองอย่างเร่งรัดที่โรงพยาบาลเพียงก่อนที่ทารกจะลืมตาดูโลก โชคไม่ดีที่การสอนเพียงครั้งเดียวนี้อาจไม่เพียงพอ

การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ต้องใช้ความอดทนและการฝึกฝน ตัวอย่างเช่น หากคุณพบปัญหาในการทำให้ลูกงับหัวนมแม่ หรือพบกับความเจ็บปวดระหว่างขั้นตอนการให้นม คุณควรขอความช่วยเหลือจากคุณแม่คนอื่นๆ, จากพยาบาลหรือผดุงครรภ์, จากชั้นเรียนที่โรงพยาบาลเปิดสอน หรือจากศูนย์ช่วยเหลือต่างๆ การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่นั้นดีทั้งสำหรับคุณและลูกน้อย แต่มันควรเป็นกิจกรรมที่สร้างความสุข ไม่ใช่เต็มไปด้วยความกังวลและน้ำตา

1. เริ่มต้นป้อนนมแม่โดยเร็ว

เวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ คือ ให้ลูกดูดนมทันทีหลังคลอดหรือภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด หากเป็นไปได้ เมื่อลูกของคุณตื่นขึ้นและสัญชาตญาณการดูดนมแม่ยังเด่นชัด แม้ว่าคุณจะยังไม่ผลิตนม ทรวงอกของคุณก็เต็มไปด้วยน้ำนมเหลือง ของเหลวที่เต็มไปด้วยสารปฏิชีวนะ

2. ท่าทางที่เหมาะสม ในการให้นมลูก

วิธีการให้นมลูก และท่าทางในการให้นมลูกต้องเหมาะสม ปากของลูกน้อยควรจะอ้ากว้าง พร้อมประคองศีรษะลูกให้อมหัวนมลึกไปถึงลานนม โดยพยายามให้หัวนมของคุณแม่อยู่ลึกภายในปากของลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ท่านี้จะช่วยลดอาการระบมในอนาคต พยาบาล, ผดุงครรภ์ หรือผู้มีความรู้อาจช่วยคุณค้นพบท่าให้นมลูกที่สบายที่สุด หากคุณรู้สึกเจ็บระบมมาก เป็นไปได้ว่าลูกของคุณยังงับหัวนมของคุณไม่ลึกพอ

3. การให้นมตามความต้องการของลูก

ทารกแรกเกิดต้องการการให้นมบ่อยครั้ง ประมาณทุกสองชั่วโมง และไม่มีตารางเวลาแน่นอน การให้นมเมื่อลูกหิวจะช่วยกระตุ้นเต้านมของคุณให้ผลิตน้ำนมจำนวนมาก เมื่อเวลาผ่านไป ทารกอาจเริ่มมีกิจวัตรที่คาดเดาได้มากขึ้น แต่เนื่องจากน้ำนมแม่สามารถย่อยได้ง่ายกว่านมผง ทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยน้ำนมแม่จึงมักกินนมบ่อยกว่าทารกที่กินนมจากขวด

4. ทารกควรทานนมแม่เป็นหลักเท่านั้น

ทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือนแรก ควรได้รับแต่น้ำนมแม่เท่านั้น ไม่ควรป้อนน้ำหวานที่มีน้ำตาลหรือสารปรุงแต่งอื่นๆ แก่ลูกหากคุณรู้สึกว่าผลิตน้ำนมได้ไม่เพียงพอ นี่อาจขัดขวางความอยากดูดนมแม่ของทารก เพราะกระเพาะอาหารของลูกน้อยที่มีขนาดเล็ก หากให้น้ำอื่นๆ ลูกอาาจะดื่มนมแม่น้อยลง การทานน้ำนมแม่อย่างเดียวถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับลูก ที่มีสารอาหารที่ครบถ้วน และยิ่งลูกดูดนมแม่มากเท่าไร คุณจะยิ่งผลิตน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น หากคุณเป็นกังวลว่าลูกน้อยจะไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ ปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์ของคุณ

5. เลื่อนเวลาการใช้จุกนมเทียมออกไป

เลื่อนเวลาการใช้จุกนมเทียมออกไป: เป็นการดีที่สุดหากคุณจะรอสักหนึ่งหรือสองสัปดาห์ก่อนให้ลูกดูดจุกนมปลอม เพื่อไม่ให้ลูกน้อยสับสน จุกนมเทียมต้องใช้ลักษณะท่าทางการดูดแตกต่างจากหัวนมของแม่ การดูดนมจากขวดอาจทำใหทารกสับสนได้เช่นกัน ทำให้ลูกดูดนมจากอกแม่ได้ยากขึ้น

6. การเตรียมพร้อม วิธีการให้นมลูกอย่างถูกต้อง

คุณแม่มือใหม่ ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคลอด ควรศึกษาวิธีการให้นมลูกอย่างถูกต้อง หรือการเข้าฝึกอบรมการ ดูแลลูกก่อนคลอด ควรมีความรู้พื้นฐานตั้งแต่การให้นมลูก การบีบนม การปั๊มนม การเก็บรักษานม เพื่อให้คุณแม่มือใหม่ ได้ให้นมลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการให้นมลูกน้อย การให้นมทารกอย่างถูกวิธี คลิก

การเก็บรักษานมแม่

การเก็บรักษานมแม่ แนะนำให้ใช้ถุงซิปล็อกในการบรรจุ และควรคำนวณปริมาณที่ลูกกินในแต่ละมื้อให้พอดี เพื่อที่จะไม่ต้องเหลือทิ้งหรือนำไปเก็บใหม่ ซึ่งเสี่ยงกับการปนเปื้อนหากนำออกมาให้ลูกทานในภายหลัง

อายุการเก็บรักษา

  • หากวางไว้ภายนอก ที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศา สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 4 ชั่วโมง
  • แช่ตู้เย็นธรรมดา ที่อุณหภูมิไม่เกิน 4 องศา สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 24-48 ชั่วโมง
  • แช่ตู้แช่แข็ง ที่อุณหภูมิไม่เกิน -16 องศา สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 3 เดือน

การละลายนมแม่จากช่องแช่แข็ง

  • วางนมแม่แช่แข็งไว้ในตู้เย็นธรรมดา เพื่อให้ละลายอย่างช้าๆ
  • ไม่ควรวางไว้ภายนอกตู้เย็นเพื่อละลายนมแม่ หรือถ้าจำเป็นควรให้ลูกทานภายใน 4 ชั่วโมง
  • การอุ่นนมแม่ ควรอุ่นโดยการใช้น้ำอุ่น เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม
  • ห้ามนำนมแม่ที่ละลายแล้วไปแช่แข็งซ้ำ หรืออุ่นโดยการใช้ไมโครเวฟ

ข้อควรรู้ ก่อนให้นมลูก

1. ภาวะนมคัด

คุณแม่มือใหม่มักผลิตน้ำนมเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เต้านมของคุณมีขนาดใหญ่, แข็ง และรู้สึกเจ็บอยู่ราวสองหรือสามวัน เพื่อบรรเทาอาการนมคัด คุณควรให้นมลูกบ่อยๆ ตามที่ลูกต้องการจนกระทั่งร่างกายของคุณปรับตัวได้และผลิตน้ำนมเฉพาะเท่าที่ทารกต้องการ ในระหว่างนั้น พูดคุยกับผู้ดูแลด้านสุขภาพของคุณเกี่ยวกับวิธีการบรรเทาอาการปวด, ใช้การประคบร้อนบริเวณเต้านมประมาณสองหรือสามนาทีก่อนให้นมเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหล และประคบเย็นนานสิบนาทีก่อนหรือหลังจากการให้นมเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

2. ใช้แผ่นซับน้ำนม

การใช้แผ่นซับน้ำนมเพื่อช่วยลดการซึมเปื้อน บางครั้งที่น้ำนมผลิดออกมามากเยอะเกินไป จนอาจซึมเลอะออกมาเลอะเสื้อ การใช้แผ่นซับน้ำนมเป็นอีกตัวช่วยหนึ่ง ระหว่างพักจากการให้นมลูก

3. อาการแหวะนม

เป็นเรื่องปกติที่ทารกอาจแหวะนมระหว่างดูดนมแม่หรือหลังจากนั้น ทารกส่วนใหญ่จะหายจากอาการนี้หลังพ้นวันเกิดปีแรก แม้ว่าอาการแหวะนมจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ ทว่าคุณควรปรึกษาแพทย์หากน้ำหนักตัวทารกไม่เพิ่มขึ้น, มีอาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง (แทนที่จะเป็นเพียงการแหวะนม), ปฏิเสธไม่ยอมดูดนม หรือคุณมองเห็นสัญญาณอื่นๆ ของปัญหานี้

4. อาการหัวนมแตก

ในช่วงแรกหลังการคลอดบุตร คุณอาจประสบปัญหาหัวนมแตก หากอาการนี้เกิดขึ้น ปรึกษากับผู้ดูแลด้านสุขภาพของคุณ, ผดุงครรภ์ หรือที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตรเพื่อรับคำแนะนำที่สามารถทำได้ หากหัวนมของคุณแตก ล้างด้วยน้ำสะอาดหลังจากให้นมลูกและทำความสะอาดอย่างเบามือเป็นประจำทุกวัน การทาครีม หรือทาขี้ผึ้งทาหัวนมที่ปลอดภัย และเหมาะสมอาจช่วยคุณได้ อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษากับผู้ดูแลด้านสุขภาพหากอาการนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง หรือขัดขวางการให้นมทารก

5. คอยระวังการติดเชื้อ

อาการเต้านมติดเชื้อได้แก่ มีไข้, มีก้อนเจ็บ และเต้านมมีสีแดง อาการนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

6. รับประทานอาหารให้ครบถ้วน และพักผ่อนอย่างเพียงพอ

คุณแม่ที่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหารสมดุล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วควรรวมถึงการรับประทานแคลอรี่เพิ่มขึ้นวันละ 500 แคลอรี่ คุณควรเลิกดื่มคาเฟอีนและหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ รวมถึงขอให้แน่ใจว่าได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ (6-8 แก้ว) ในแต่ละวัน การนอนหลับอย่างเต็มอิ่มก็มีส่วนสำคัญต่อการรักษาสุขภาพของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอ

แต่ถ้าหากใครมีปัญหานอนหลับยาก สามารถหาตัวช่วยสร้างบรรยากาศให้นอนหลับง่ายมากขึ้นได้ อย่าง “การสร้างกลิ่นหอม” เพื่อช่วยผ่อนคลายก่อนเข้านอน ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศให้หลับง่ายขึ้น ด้วย โลชั่น จอห์นสัน เบบี้ เบดไทม์ สีม่วง ที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของดอกมะลิ และดอกลิลลี่ สามารถช่วยให้คุณหลับง่าย และนานขึ้น

จะเห็นได้ว่าน้ำนมแม่ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อย เป็นอาหารจากธรรมชาติและเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน และยังเป็นโอกาสที่คุณแม่จะได้มอบความรักให้ลูกผ่านการสัมผัสและสร้างสายสัมพันธ์ของแม่กับลูกอีกด้วย การเป็นคุณแม่มือใหม่ นั้นต้องมีความอดทนและความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

เตรียมตัวต้อนรับลูกน้อย

วิธีเตรียมบ้านให้พร้อมสำหรับทารกน้อยคนใหม่

ชมวิดีโอขนาดสั้นจาก BabyCenter® เพื่อเรียนรู้วิธีการหาตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้ลูกงับหัวนม

คุณแม่ทั่วโลกไว้วางใจ JOHNSON’S® ให้ดูแลลูกน้อย

เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับคุณแม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะยังคงบรรลุมาตรฐานสูงสุดในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และความใส่ใจ